หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 การเจริญเติบโต
สารบัญ

เรื่องที่ <<  1  2   >>

หน่วยที่ 1

หน่วยที่ 2 หน่วยที่ 3 หน่วยที่ 4 หน่วยที่ 5 เว็บบอร์ด

เรื่องที่ 2  เกณฑ์มาตรฐานและพัฒนาการของเด็กแต่ละวัย

         เกณฑ์มาตรฐานการเจริญเติบโตจะเป็นเกณฑ์ที่ใช้ในการเปรียบเทียบการเจริญเติบโต เกี่ยวกับความสูง น้ำหนัก อายะ เพศ ว่ามีพัฒนาการได้มาตรฐานสมวัยหรือไม่ การศึกษาทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องนี้จึงมีความสำคัญเพราะจะทำให้สามารถมีการเสริมสร้างตนเองและผู้อื่น ให้มีการเจริญเติบโตรามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดอย่างสมวัย
1.เกณฑ์มาตรฐานของน้ำหนักและส่วนสูง
         การเจริญเติบโต  หมายถึง การเปลี่ยนแปลงทางด้านขนาดของอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย โดยมีเพิ่มจำนวนและขนาดของเซลล์ เช่น น้ำหนักเพิ่ม ส่วนสูงมากขึ้น ศีรษะใหญ่ขึ้น แขนและขา มือ เท้า นิ้วมือ นิ้วเท้ามีขนาดใหญ่และยาวขึ้น อวัยวะต่างภายในมีขนาดโตขึ้น

   
   
   
   
   
   
   
   

เด็กอายุ 2-3 ขวบ

 

เด็กอายุ 6-7 ขวบ

 

เด็กอายุ 12 -13 ขวบ

การกำหนดเกณฑ์มาตรฐาน
          กรมอนามัย กระทรวงสารธารณสุข เป็นหน่วยงานที่กำหนดเกณฑ์มาตรฐาน โดยมอบให้คณะทำงานจัดทำมาตรฐานน้ำหนัก ส่วนสูงและเครื่องชี้วัดภาวะโภชนาการของประเทศไทย
          การกำหนดเกณฑ์มาตรฐานไม่ได้จัดทำเพียงครั้งเดียวแล้วใช้ได้ตอดไป แต่จะมีการจัดทำเป็นระยะ ๆ เพราะอัตราการเจริญเติบโตของเด็กไทยมีแนวโน้มที่จะเจริญเติบโตเร็วขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับอดีต ทั้งนี้เพราะมีการรับประทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์มากขึ้น โดยเฉพาะเมื่อมีการรณรงค์ให้เด็กดื่มนม   ดังนั้นการกำหนดเกณฑ์มาตรฐานของน้ำหนักแสะส่วนสูงจึงต้องจัดทำขึ้นใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับภาวะการเจริญเติบโตที่เป็นปัจจุบันของเด็กไทย
การเปรียบเทียบเกณฑ์มาตรฐานเก่าและใหม่

เพศ

ชาย

หญิง

ชาย

หญิง

อายุ(ปี)

น้ำหนัก (กก.) น้ำหนัก (กก.) ส่วนสูง (ซม.) ส่วนสูง (ซม.)

2530

2542

2530

2542

2530

2542

2530

2542

7 20.2 22.0 20.2 21.2 116.1 120.0 115.9 119.7
8 22.0 24.3 21.7 23.4 120.9 125.1 120.5 124.9
9 24.3 26.8 24.2 26.6 126.2 130.2 126.0 130.1
10 27.1 29.5 26.8 29.9 130.9 135.1 130.9 136.5
11 29.3 32.9 30.7 34.0 134.8 139.8 137.7 143.0
12 33.3 36.8 35.4 38.5 141.4 145.7 143.8 148.8
     จากตารางจะเห็นได้ว่าระยะเวลาผ่านไป 12 ปี เด็กไทยมีสภาทางด้านร่างกายที่โตขึ้น

ที่มา หนังสือสุขศึกษา อ.ปรีชา  ไวยโภคา

ทั้งด้านน้ำหนักแสะส่วนสูง
 ความสัมพันธ์ระหว่างอายุ น้ำหนัก และส่วนสูง
1.น้ำหนักตามเกณฑ์อายุ เป็นตัวชี้ว่าน้ำหนักเหมาะสมกับอายุหรือไม่ ถ้าร่างกายขาดอาหารหรือเจ็บป่วยจะมีผลกระทบต่อขนาดของร่างกาย ทำให้น้ำหนักลดลงและถ้าขาดอาหารระยะยาวเด็กจะผอมและเตี้ย ดังนั้นน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์อายุจะบ่งชี้ว่าร่างกายขาดสารอาหารโดยรวมและสามารถใช้ในการติดตามการเจริญเติบโตของเด็กได้
2.สูงตามเกณฑ์อายุ เป็นตัวชี้ภาวะโภชนาการระยะยาวที่ผ่านมาว่า ส่วนสูงเหมาะสมกับอายุหรือไม่ ถ้าร่างกายขาดสารอาหารแบบเรื้อรังเป็นระยะยาวนานจะมีผลกระทบต่อการเจริญเติบโตทางโครงสร้างของร่างกายทำให้เด็กเตี้ย
3.น้ำหนักตามเกณฑ์ส่วนสูง เป็นตัวชี้ว่าน้ำหักเหมาะสมกับส่วนสูงหรือไม่ ถ้าร่างกายขาดสารอาหารระยะสั้นในปัจจุบันหรือเกิดเจ็บป่วยร่างกายจะผอม น้ำหนักตามเกณฑ์ส่วนสูงจะมีค่าย้อยกว่าปกติ
      การเจริญเติบโตและพัฒนาการของตนเองกับเกณฑ์มาตรฐาน  กรมอนามัยได้จัดทำกราฟแสดงเกณฑ์อ้างอิงการเจริญเติบโตของเพศชายและเพศหญิง อายุ 5 - 18 ปีขึ้น และจะบอกหรือตอบคำถามกับนักเรียนได้หลายข้อ ดังนี้
      1.น้ำหนักของบุคคลเท่าใดจึงจะเป็นไปตามเกณฑ์อายุ
      2.ส่วนสูงของบุคคลเท่าใดจึงจะเป็นไปตามเกณฑ์อายุ
      3.น้ำหนักและส่วนสูงของบุคคลเท่าใดจึงจะจัดว่าสมส่วน ท้วม เริ่มอ้วน อ้วน ค่อนข้องผอม และผอม
      4.น้ำหนักและอายุของบุคคลเท่าใดจงจะจัดว่าน้ำหนักค่อนข้างมาก น้ำหนักมากเกินเกณฑ์น้ำหนักค่อยข้างน้อย และน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์
      5.ส่วนสูงอายุของบุคคลเท่าใดจึงจะจัดว่าค่อนข้างสูง สูง  ค่อนข้างเตี้ย และเตี้ย
      6.ค่ากลางของน้ำหนักของบุคคลเท่าใดจึงจะเป็นไปตามเกณฑ์อายุ
      7.ค่ากลางของส่วนสูงของบุคคลเท่าใดจึงจะเป็นไปตามเกณฑ์อายุ

สำหรับกราฟเกณฑ์น้ำหนักส่วนสูงต่าง ๆ คลิกดูได้ที่  กรมอนามัย หรือ่านได้ที่ หนังสือสุขศึกษา ม.1 อ.ปรีชา

  การประเมินน้ำหนักตามเกณฑ์ส่วนสูง  ส่วนใหญ่แล้วแพทย์จะนิยมใช้ค่าดัชนีมวลกาย  ( Body Mass Index : BMI ) ในการประเมินมากกว่าโดยมีสูตรคำนวณ

การคำนวณดัชนีมวลกาย

ดัชนีมวลกาย =น้ำหนัก(กก)
                     ส่วนสูง(ม)²

ตัวอย่างการคำนวณ

ส่วนสูง 170ซม.น้ำหนัก 85 กก.

  1. น้ำหนักตั้ง   85 กก.

  2. ส่วนสูง*ส่านสูง = 1.70*1.70=2.89

  3. ดัชนีมวลกาย= 85/2.89=29.41 กก/ตารางเมตร

 
คลิ๊กที่นี่ดูตารางดัชนีมวลกาย
     เกณฑ์การพัฒนาของเด็กให้เติบโตตามเกณฑ์และให้มีสัดส่วนที่ดีต้องขึ้นอยู่กับองค์ประกอบหลาย ๆ ด้าน เด็กต้องทานอาหารให้ถูกหลัก และมีประโยชน์ตรงนี้
ต้องขึ้นอยู่กับพ่อแม่ว่าจะมีเวลาเอาใจใส่เรื่องอาหารให้ลูกรักของท่านอย่างไร การออกกำลังกายก็เป็นสิ่งสำคัญกับการเจริญเติบโตตามวัย นั้นทุกอย่างที่เกี่ยวกับสุขภาพ
ร่างกายที่ดีของเรา มีส่วนเกี่ยวข้องกับเกณฑ์การเจริญเติบโต และพัฒนาการทางด้านร่างกายของเรา
<<< ย้อนกลับ

ถัดไป >>>

ติดต่อผู้จัดทำ  38 / 263 หมู่ 14 ต.บางหัวเสือ อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการฯ 10130 โทร0859429174    physical_18@hotmail.com        

โดยครูพีรวิชญ์  ศรีอ่อน  กศ.บ.พลศึกษา